วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2555

สื่อการสอนประเภทสื่อความหมาย
ความหมายและองค์ประกอบของการสื่อความหมาย
การสื่อความหมาย (Communications) หมายถึง การถ่ายทอดข่าวสาร ข้อเท็จจริง ความคิดเห็น ตลอดจนความรู้สึกนึกคิด จากผู้ส่งไปยังผู้รับ หรือจากบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลอื่น ๆ ให้เกิดความรู้สึก ความเข้าใจตรงกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
การสื่อความหมายมีลักษณะเป็นกระบวนการ โดยมีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ
3.1.1 ผู้ส่งสาร (Sender) คือผู้ที่สื่อความหมายไปยังผู้รับ
3.1.2 สาร (Message) คือ เรื่องราวข้อมูล ที่ผู้ส่งสารต้องการให้ผู้รับเกิดพฤติกรรมตามที่ต้องการ
3.1.3 สื่อหรือช่องทาง (Channel) เป็นตัวที่ทำให้เนื้อหาสาระ มีรูปร่างลักษณะที่เหมาะสมกับการไปถึงผู้รับสารได้ ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน รูปภาพ ท่าทาง สัญลักษณ์ และเครื่องมือต่าง ๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือ เป็นต้น
3.1.4 ผู้รับสาร (Receiver) ผู้รับสารที่ผ่านมาโดยใช้ประสาทสัมผัส ทางใดทางหนึ่งในการรับ เช่น ตามองดู หูรับฟัง เป็นต้น
รูปแบบของการสื่อความหมาย
       การสื่อความหมายจำแนกได้หลายรูปแบบ ดังนี้
             1. จำแนกตามลักษณะในการสื่อความหมาย แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
                  1.1 ภาษาพูดหรือภาษาเขียน (Verbal Communication)
                  1.2 ภาษาท่าทางหรือสัญญาณ (Non-Verbal Communication)
             2. จำแนกตามตำแหน่งของผู้ส่งหรือผู้รับ แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
                  2.1 การสื่อความหมายทางตรง (Direct Communication)
                  2.2 การสื่อความหมายทางอ้อม (Indirect Communication)
             3. จำแนกตามพฤติกรรมในการโต้ตอบ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
                  3.1 การสื่อความหมายทางเดียว (One-way Communication)
                  3.2 การสื่อความหมายสองทาง (Two- way Communication)
ทักษะการสื่อความหมาย
             ทักษะการสื่อความหมาย (Cummunication) หมายถึง การพูด การเขียน รูปภาพ และภาษาท่าทาง การแสดงสีหน้า ความสามารถรับข้อมูลได้อย่างถูกต้องและชัดเจน ตลอดจนการแสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึก ก็จัดว่าเป็นการสื่อความหมายด้วย
ลักษณะที่จะบอกได้ว่า การสื่อความหมายได้ดีหรือไม่ จะต้องเป็นดังนี้
               1. บรรยายลักษณะคุณสมบัติของวัตถุโดยให้รายละเอียดที่ผู้อื่นสามารถวิเคราะห์ได้
                2. บันทึกการเปลี่ยนแปลงของวัตถุได้
             3. บอกความสัมพันธ์ของข้อมูลที่ได้จัดกระทำแล้ว
             4. จัดกระทำข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ ให้สามารถเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น เช่น วาดภาพ ทำกราฟ
เป็นต้น            
ทักษะการจัดกระทำและการสื่อความหมายของข้อมูล
 เป็นความชำนาญในการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจสิ่งที่ต้องการสื่อได้ชัดเจน ถูกต้องรวดเร็วและง่ายต่อการแปลความหมาย
  วิธีในการนำเสนอข้อมูล มีหลายวิธี เช่น การใช้ภาษาพูด ภาษาเขียน แผนภาพ แผนภูมิ แผนที่ แผนผัง ตาราง กราฟ วงจรหรือสมการเป็นความชำนาญในการหาความสัมพันธ์เชิงปริมาณ โดยมีวิธีการนับ การคิดคำนวณโดยใช้วิธีบวก ลบ คูณ หาร การใช้ตัวเลขคิดสูตรทางวิทยาศาสตร์
ขั้นตอนการจัดกระทำและการสื่อความหมายของหมายข้อมูล 
                              1. เลือกรูปแบบในการจัดทำนำเสนอให้เหมาะสมกับข้อมูล
                              2. จัดกระทำข้อมูลตามรูปแบบที่ได้เลือกไว้ โดยอาจทำได้ดังนี้
                                      2.1 จัดเรียงลำดับใหม่
                                      2.2 หาความถี่เมื่อมีข้อมูลซ้ำ
                                    2.3 แยกหมวดหมู่หรือประเภท
                                    2.4 คำนวณหาค่าใหม่
                                          2.5 บรรยายลักษณะสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือสถานที่ด้วยข้อความกะทัดรัดเหมาะสมจนสื่อ ความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจได้
การสื่อความหมายด้วยภาพ ( VISUAL COMMUNICATION)
          ใช้กันมาตั้งแต่สมัยก่อนจะประกอบด้วยภาษาพูด รูปภาพ เครื่องหมายต่างๆ จากสิ่งเหล่านี้
การติดต่อสื่อความหมาย ที่ใช้สายตายังสามารถรักษาหลักฐานให้ยืนยงอยู่ได้หลายสมัยในทาง
ศิลปะอาจจะเรียกว่า เป็นภาษาสัญลักษณ์ หมาย ถึง ภาษาที่เกิดจากการมองเห็นด้วยรูปร่าง
รูปทรง และลักษณะ ซึ่งแตกต่างจากภาษาพูดที่จะเปลี่ยนแปลงไปได้เสมอ
          การแสดงด้วยภาพมักจะแสดงออกถึงความคิดในทางที่ง่ายที่สุด ตรงไปตรงมา การถ่าย
ทอดวัฒนธรรมระหว่าง ประเทศที่ใช้ภาษาต่างกัน ภาพเป็นสิ่งสำคัญที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
ภาพเหมือน (Representation)
                หมายถึง ภาพที่แสดงถึงสิ่งที่เรามองเห็นและสังเกตได้จากสภาพแวดล้อม และประสบการณ์
ภาพสัญลักษณ์ (Symbolism)
หมายถึง มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นเป็นลักษณะของสัญลักษณ์แทนสิ่งที่เรามองเห็นจริงโดยทำให้ดูง่ายขึ้นและมีความหมายชัดเจน
ภาพนามธรรม (Abstract)
            คือ การลดรายละเอียดจากสิ่งที่มองเห็นไปสู่องค์ประกอบในการมองขั้นพื้นฐาน ซึ่งความจริงแล้วการจะเข้าใจในโครงสร้างขององค์ประกอบต่างๆ ที่มองเห็น มีความสำคัญมาก และการวาดภาพเหมือนให้เหมือนของจริงมากเท่าใด ความหมายของภาพจะอธิบายถึงสิ่งในภาพอย่างเฉพาะเจาะจงเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น